http://www.amazon.com/gp/product/B008GFRB9E/ref=fs_j

http://g-ecx.images-amazon.com/images/G/01/kindle/dp/2012/famStripe/FS-KT-125._V387998894_.gif

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Red Mosaic

   การรักษาสายพันธุ์ปลาหางนกยูงคงจะไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าเราเลี้ยงปลาเพียงแค่สายพันธุ์เดียว แต่ทุกฟาร์มคงไม่ได้เลี้ยงปลาแค่สายพันธุ์เดียว มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ ที่เพาะเลี้ยงก็มีอย่างจำกัด สายพันธุ์ปลาเลือดชิดเร็ว ต้องนำเข้าสายพันธุ์ปลาอยู่บ่อย ๆ
   แต่ถ้าเรามีกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลาด้วยกันก็จะช่วยในเรื่องการรักษาสายพันธุ์ได้มากขึ้น เช่นมีผู้นำปลาจากเราไป 1 คู่ (ต้องเลือกปลาสวยเกรด  A ให้เขาไป ) เมื่อเขาไปเพาะพันธุ์ได้จำนวนและมีการพัฒนาได้สวยยิ่งขึ้น เราก็อาจจะขอสายพันธุ์ปลามาเพื่อไขว้กับปลาของเรา ลักษณะแบบนี้ปลาจะเลือดชิดได้ยากกว่าปลาที่เลี้ยงจากที่เดียวกัน

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประกาศจาก Fancy fish guppy

         ภาพปลาจาก Fancy fish guppy

ประกาศ
ทาง Fancy fish guppy ต้องการพันธมิตรเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูงเกรด A โดยท่านนำสายพันธุ์จากเราไปเลี้ยง (ฟรี) และเมื่อท่านเพาะปลาได้จำนวนมากแล้วเราขอปลาเกรด A คืนจากท่านเพียง1 คู่

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Mosaic guppy

       ทาง Fancy fish guppy ได้เลี้ยงปลาหางนกยูงมานานแต่ไม่เคย ได้นำปลาสายพันธุ์ Mosaic เข้ามาเลี้ยง ครั้งนี้มีผู้แนะนำและให้สายพันธุ์มาเลี้ยง เมื่อเลี้ยงผ่านมาได้สัก 2 สัปดาห์ สังเกตเห็นว่าปลาสายพันธุ์นี้มีทรงหางที่แปลกกว่าทุกสายพันธุ์ คือทรงหางจะโค้งกว้างมาก รูปทรงและลำตัวของหางได้สัดส่วนกัน ในรูปที่เห็นเป็น Red Mosaic   สายพันธุ์นี้จะมีสองสีเหมือนกับ Blue grass และ Blue tail  ทางผู้เลี้ยงเจ้าของสายพันธุ์บอกว่า ถ้าเป็นสีฟ้าจะสวยมาก

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปรับแต่งสายพันธุ์แบบง่าย ๆ (3)

      ในกรณีที่เรามีสายพันธุ์ Blue tail ตาแดงอยู่ต้องการปรับให้เป็นตาดำ แต่ไม่สามารถหาสายพันธุ์ตาดำมาปรับได้  เราก็สามารถนำสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกันมาปรับได้
      ทาง Fancy fish guppy ได้คัดเลือก แม่พันธุ์ blue tail  ตาแดง และ พ่อพันธุ์ Yellow tuxedo นำมาผสมกันได้ลูกเป็นตาดำหมด คัดเลือกปลาตัวเมียไว้หนึ่งตัว  นำมาผสมกับพ่อพันธุ์ Blue tail ตาแดง ได้ลูกปลาให้คัดเลือกแม่ปลาไว้หนึ่งตัวผสมกับพ่อพันธุ์ Blue tail ตาแดงอีก  คราวนี้ลูกปลาเป็น Blue tail ตาดำเกือบทั้งครอก  แต่สายพันธุ์ยังไม่นิ่งพอ ให้ทำการย้ำอีก 1 - 2 รอบ  ก็จะได้สายพันธุ์ที่นิ่งมีทั้ง Blue tail ที่เป็นทั้งตาแดงและตาดำ  ผู้พัฒนาจะได้ประโยชน์ 2 อย่างคือ 
1. ได้สายพันธุ์ Blue tail ตาดำขึ้นมาใหม่
2. ได้ทำการปรับแต่งสายพันธุ์ Blue tail ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การปรับแต่งสายพันธุ์แบบง่าย ๆ ( 2 )

     การเปลี่ยนรูปแบบจากปลาตาแดงมาเป็นตาดำ ไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าหากว่าท่านเลี้ยงปลาสายพันธุ์ตาแดง แล้วอยากทำสายพันธุ์ตาดำขึ้นมาเอง เพียงแต่หาปลาสายพันธุ์ตาดำสักตัวมาผสมลูกปลาก็เกิดเป็นสายพันธุ์ตาดำอย่างมากมาย  อย่างเช่นทาง Fancy fish guppy มีปลาสายพันธุ์ Blue tail ตาแดงอยู่แล้ว ต้องการทำให้เป็นปลาตาดำ  ก็หาสายพันธุ์ Blue tail ตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ มาผสม ลูกปลาออกมาในครอกแรกก็จะมีปลาตาดำเกือบทั้งครอก



วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปรับแต่งสายพันธุ์แบบง่าย ๆ ( 1 )


   ทาง Fancy fish guppy ได้คุยเกี่ยวกับเรื่องปลาหางนกยูงกับผู้ที่เริ่มเพาะเลี้ยง ทุกท่านอยากจะสร้างปลาสายพันธุ์ใหม่ ๆ  เมื่อถามว่าจะทำอย่างไรก็บอกว่านำตัวนี้ผสมกับตัวนั้นไปเรื่อย ๆ เมื่อทำจริงปรากฏว่าไม่เป็นไปดังที่คิด มีปลาเต็มไปหมดไม่มีที่เลี้ยง  ไม่มีสวย
    นักพัฒนาสายพันธุ์ปลา กว่าจะได้สายพันธุ์ใหม่ ๆ ต้องใช้เวลาอย่างน้อยเป็นปี กว่าสายพันธุ์ปลาจะนิ่งอีกบางทีถึง 2 ปี การสร้างสายพันธุ์ใหม่  ต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก  บางคนรอไม่ไหวต้องเลิกทำไปก่อน 
         ในการสร้างสายพันธุ์ใหม่จะต้องจินตนาการขึ้นมาก่อนว่าต้องการปลาลักษณะใด แล้วค่อยดำเนินการนำปลามาผสมกัน ทาง Fancy fish guppy ได้ดูรูปปลา จากประเทศญี่ปุ่น ( รูปซ้าย ) แล้วก็ทำการพัฒนาปลาขึ้นมาตามรูปแบบ ( รูปขวา )

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Blue grass


     ปลาหางนกยูงสายพันธุ์ Blue grass จัดว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำให้สวยได้ยากสายพันธุ์หนึ่ง อย่างเช่นรูปร่างรูปทรงที่สวยงาม อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว ใน 1 ครอกมีไม่กี่ตัว ปลาที่รูปทรงสวยจะต้องมีลายที่จุดเล็ก ๆ ที่หางเป็นจำนวนมาก มีสีพื้นหางสีฟ้าใสต้องไม่มีสีเหลืองปนข้างลำตัวต้องมีมาร์กสีดำเป็นรูปหยดน้ำ ครีบอกหรือหูจะต้องเป็นสีขาว หรือเป็นสีฟ้าจุดดำแบบลายหาง จะเป็นสีดำไม่ได้เลย ถ้ากระโดงเป็นลายจุดเล็ก ๆ แบบที่หางยิ่งดี รูปแบบของกระโดงต้องเป็นแบบกระโดงสูงยิ่งสวยงาม
       ในการเพาะพันธุ์ถ้าเราใช้พ่อแม่พันธุ์เป็นจำนวนมาก เราก็อาจจะได้ปลาในลักษณะที่ต้องการมากขึ้น แต่จะมีปลาที่ใช้ไม่ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งยากต่อการจัดการ แต่ถ้าเราใช้วิธีคัดเลือกพันธุ์ เราจะได้ปลาในรูปแบบที่ต้องการมากขึ้น ต่อจำนวนปลาใน 1 ครอก